Integrity Top Quality Services

แผ่นระบายน้ำ Drainage cell

Line ID: @mdgth

Office: 02-984-3311

Sales 1: 086-337-3497

Sales 2: 086-445-2730

Sales 3: 093-538-5282

Fanpage

 **ไม่รับเปลี่ยนคืน**

โปรดตรวจสอบสินค้าภายใน 7 วัน

สำหรับรองใต้สวนหลังคา กระบะต้นไม้ สนามหญ้าบนอาคาร เพื่อระบายน้ำที่รวดเร็ว ป้องกันน้ำขัง และไม่ทำให้รากต้นไม้เน่า หรือสำหรับรองใต้หญ้าเทียม เพื่อการระบายน้ำที่ดี  แผ่นระบายน้ำนี้ จะช่วยเพิ่มช่องว่างสำหรับถ่ายเทอากาศให้รากต้นไม้ ช่วยลดน้ำหนักของสวนหลังคาแบบเดิมได้อีกด้วย

คุณสมบัติ

Drain Grid  มีความแข็งแรงและทนทานสูง มีความสามารถในการรับน้ำหนักดินได้

สูงไม่น้อยกว่า 1 เมตร หรือไม่เกิน 1,000 KN/sqm.

ปริมาณสินค้า  :  10 แผ่น/มัด

การใช้งาน       :  5 แผ่น/ตร.ม.

 

รายละเอียดสินค้า

ผลิตจาก                 :   PP (Polypropylene)

ขนาด                     :  480x480x30 mm.

น้ำหนัก                   :  860 กรัมต่อชิ้น / 3.60 Kg/sqm.

กำลังรับน้ำหนักกดทับ  :  1,000 KN/sqm.

อัตราการไหลของน้ำ     :  325 ลิตรต่อวินาที ต่อความกว้าง 1 เมตร ที่ความลาดเอียงร้อยละ 1

สี                          :  ดำ

ขั้นตอนการติดตั้งสินค้า

การติดตั้ง Drain Grid สำหรับการระบายน้ำใต้กระบะต้นไม้บนอาคาร

  1. ก่อนการติดตั้ง ผู้รับเหมาต้องได้รับคำอนุมัติจากวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งได้ตรวจสอบการเตรียมพื้นที่สำหรับการติดตั้งแล้ว
  2. จัดวาง DRAIN GRID ลงบนพื้นที่ทำระบบกันซึมแล้ว หรือวางบนแผ่น Geotextile ตามที่ระบุในแบบ
  3. ติดตั้ง DRAIN GRID ด้วยวิธีการวางสลับ (Brick pattern) โดยไม่ให้มีช่องว่างระหว่างชิ้นงาน โดยติดตั้งแต่ละชิ้นของ DRAIN GRID ให้เชื่อมยึดกับชิ้นถัดไปให้จุดยึดเข้าล็อค เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่
  4. ตัดขอบชิ้นปลายของ DRAIN GRID ให้พอดีกับพื้นที่ก่อสร้าง โดย DRAIN GRID สามารถตัดได้ง่ายด้วยเลื่อยมือ เพื่อปรับรูปร่างให้เหมาะสมหรือพอดีกับพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง
  5. การติดตั้ง DRAIN GRID ในพื้นที่ลาดเอียงสามารถกระทำได้ ในที่ลาดชันไม่เกิน 6 องศา
  6. ขอบโดยรอบของ DRAIN GRID จะต้องถูกหุ้มด้วยแผ่น Geotextile เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเข้าไปอุดตันในช่องระบายน้ำ และต้องแน่ใจว่าการติดตั้งดังกล่าวไม่อุดตันหรือขวางทางระบายน้ำ
  7. ติดตั้งแผ่น Geotextile ลงบน DRAIN GRID โดยวางไม่ให้มีช่องว่าง และซ้อนทับแต่ละแผ่นตามข้อกำหนดของแผ่น Geotextile ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้มีมุมหรือส่วนคมที่อาจสร้างความเสียหายให้กับแผ่น Geotextile
  8. โรยทรายรองพื้น ดิน วัสดุปลูก หรือวัสดุปูพื้นอื่นตามต้องการ โดยการบดอัดวัสดุถมดังกล่าวให้ใช้การบดอัดด้วยมือหรือเครื่องบดอัดน้ำหนักเบา (Light weight tools) เท่านั้น
  9. ปลูกต้นไม้ ปูหญ้าหรือ Hydro seed ตามต้องการ

การติดตั้ง Drain Grid สำหรับการระบายน้ำของกำแพงกันดิน

  1. ก่อนการติดตั้ง ผู้รับเหมาต้องได้รับคำอนุมัติจากวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งได้ตรวจสอบการเตรียมพื้นที่สำหรับการติดตั้งแล้ว
  2. จัดวาง DRAIN GRID ที่ผนังที่ทำระบบกันซึมหรือติดตั้งแผ่น Geotextile ไว้ตามที่ระบุในแบบ
  3. ติดตั้ง DRAIN GRID ด้วยวิธีการวางสลับ (Brick pattern) โดยไม่ให้มีช่องว่างระหว่างชิ้นงาน โดยติดตั้งแต่ละชิ้นของ DRAIN GRID ให้เชื่อมยึดกับชิ้นถัดไป เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่
  4. ตัดขอบชิ้นปลายของ DRAIN GRID ให้พอดีกับพื้นที่ก่อสร้าง โดย DRAIN GRID สามารถตัดได้ง่ายด้วยเลื่อยมือ เพื่อปรับรูปร่างให้เหมาะสมหรือพอดีกับพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง
  5. ติดตั้ง DRAIN GRID เข้ากับผนังคสล.
  6. ขอบโดยรอบของ DRAIN GRID จะต้องถูกหุ้มด้วยแผ่น Geotextile เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเข้าไปอุดตันในช่องระบายน้ำ และต้องแน่ใจว่าการติดตั้งดังกล่าวสามารถรวบรวมน้ำเพื่อระบายไปยังท่อระบายน้ำได้โดยสะดวก
  7. สำหรับผนังกันดินที่สูงเกิน 1.5 เมตร ควรจัดวาง DRAIN GRID เป็น 2 ชั้นที่แผ่นล่างสุด เพื่อให้มีพื้นที่มากพอในการรวมน้ำและระบายออกโดยง่าย
  8. ติดตั้งแผ่น Geotextile ลงบน DRAIN GRID โดยวางไม่ให้มีช่องว่าง และซ้อนทับแต่ละแผ่นตามข้อกำหนดของแผ่น Geotextile ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้มีมุมหรือส่วนคมที่อาจสร้างความเสียหายให้กับแผ่น Geotextile
  9. โรยทรายรองพื้น ดิน วัสดุปลูก หรือวัสดุปูพื้นอื่นตามต้องการ โดยการบดอัดวัสดุถมดังกล่าวให้ใช้การบดอัดด้วยมือหรือเครื่องบดอัดน้ำหนักเบา (Light weight tools) เท่านั้น
  10. ปลูกต้นไม้ ปูหญ้าหรือ Hydro seed ตามต้องการ

การติดตั้ง Drain Grid สำหรับการระบายน้ำใต้หญ้าจริง

  1. ก่อนการติดตั้ง ผู้รับเหมาต้องได้รับคำอนุมัติจากวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งได้ตรวจสอบการเตรียมพื้นที่สำหรับการติดตั้งแล้ว
  2. จัดวาง DRAIN GRID ลงบนพื้นที่ทำระบบกันซึมแล้ว หรือวางบนแผ่น Geotextile ตามที่ระบุในแบบ
  3. ติดตั้ง DRAIN GRID ด้วยวิธีการวางสลับ (Brick pattern) โดยไม่ให้มีช่องว่างระหว่างชิ้นงาน โดยติดตั้งแต่ละชิ้นของ DRAIN GRID ให้เชื่อมยึดกับชิ้นถัดไปให้จุดยึดเข้าล็อค เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่
  4. ตัดขอบชิ้นปลายของ DRAIN GRID ให้พอดีกับพื้นที่ก่อสร้าง โดย DRAIN GRID สามารถตัดได้ง่ายด้วยเลื่อยมือ เพื่อปรับรูปร่างให้เหมาะสมหรือพอดีกับพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง
  5. การติดตั้ง DRAIN GRID ในพื้นที่ลาดเอียงสามารถกระทำได้ ในที่ลาดชันไม่เกิน 6 องศา
  6. ติดตั้งแผ่น Geotextile ลงบน DRAIN GRID โดยวางไม่ให้มีช่องว่าง และซ้อนทับแต่ละแผ่นตามข้อกำหนดของแผ่น Geotextile ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้มีมุมหรือส่วนคมที่อาจสร้างความเสียหายให้กับแผ่น Geotextile ลักษณะการปูจะต้องขึ้นขอบ ตามเส้นประ ดังรูป Geotextile จะช่วยป้องกันไม่ให้ดินเข้าไปอุดตันในช่องระบายน้ำ
  7. โรยทรายรองพื้น ดิน วัสดุปลูก หรือวัสดุปูพื้นอื่นตามต้องการ หนาประมาณ 300 mm. และบดอัดวัสดุถมดังกล่าวให้ใช้การบดอัดด้วยมือหรือเครื่องบดอัดน้ำหนักเบา(Light weight tools) เท่านั้น
  8. ปูหญ้าหรือ Hydro seed ตามต้องการ

การติดตั้ง Drain Grid สำหรับการระบายน้ำใต้หญ้าเทียมบนพื้นคอนกรีต แบบไม่มีชั้นทราย

  1. ก่อนการติดตั้ง ผู้รับเหมาต้องได้รับคำอนุมัติจากวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งได้ตรวจสอบการเตรียมพื้นที่สำหรับการติดตั้งแล้ว
  2. หลังจากปรับความลาดเอียงที่พื้นคอนกรีต เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลแล้ว ติดตั้ง DRAIN GRID ด้วยวิธีการวางสลับ (Brick pattern) โดยไม่ให้มีช่องว่างระหว่างชิ้นงาน โดยติดตั้งแต่ละชิ้นของ DRAIN GRID ให้เชื่อมยึดกับชิ้นถัดไปให้จุดยึดเข้าล็อค เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่
  3. ตัดขอบชิ้นปลายของ DRAIN GRID ให้พอดีกับพื้นที่ก่อสร้าง โดย DRAIN GRID สามารถตัดได้ง่ายด้วยเลื่อยมือ เพื่อปรับรูปร่างให้เหมาะสมหรือพอดีกับพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง
  4. การติดตั้ง DRAIN GRID ในพื้นที่ลาดเอียงสามารถกระทำได้ ในที่ลาดชันไม่เกิน 6 องศา
  5. ติดตั้งหญ้าเทียมบน DRAIN GRID  ได้เลย

การติดตั้ง Drain Grid สำหรับการระบายน้ำใต้หญ้าเทียมบนพื้นคอนกรีต แบบมีชั้นทราย เพื่อความนุ่มเสมือนจริง

  1. ก่อนการติดตั้ง ผู้รับเหมาต้องได้รับคำอนุมัติจากวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งได้ตรวจสอบการเตรียมพื้นที่สำหรับการติดตั้งแล้ว
  2. หลังจากปรับความลาดเอียงที่พื้นคอนกรีต เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลแล้ว ติดตั้ง DRAIN GRID ด้วยวิธีการวางสลับ (Brick pattern) โดยไม่ให้มีช่องว่างระหว่างชิ้นงาน โดยติดตั้งแต่ละชิ้นของ DRAIN GRID ให้เชื่อมยึดกับชิ้นถัดไปให้จุดยึดเข้าล็อค เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่
  3. ตัดขอบชิ้นปลายของ DRAIN GRID ให้พอดีกับพื้นที่ก่อสร้าง โดย DRAIN GRID สามารถตัดได้ง่ายด้วยเลื่อยมือ เพื่อปรับรูปร่างให้เหมาะสมหรือพอดีกับพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง
  4. การติดตั้ง DRAIN GRID ในพื้นที่ลาดเอียงสามารถกระทำได้ ในที่ลาดชันไม่เกิน 6 องศา
  5. ติดตั้งแผ่น Geotextile ลงบน DRAIN GRID โดยวางไม่ให้มีช่องว่าง และซ้อนทับแต่ละแผ่นตามข้อกำหนดของแผ่น Geotextile ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้มีมุมหรือส่วนคมที่อาจสร้างความเสียหายให้กับแผ่น Geotextile ลักษณะการปูจะต้องขึ้นขอบ ตามเส้นประ ดังรูป Geotextile จะช่วยป้องกันไม่ให้ดินเข้าไปอุดตันในช่องระบายน้ำ
  6. โรยทรายรอง หนาประมาณ 50 mm. และบดอัดให้ใช้การบดอัดด้วยมือหรือเครื่องบดอัดน้ำหนักเบา (Light weight tools) เท่านั้น
  7. ติดตั้งหญ้าเทียมบน DRAIN GRID  ได้เลย

การติดตั้ง Drain Grid สำหรับ การระบายน้ำ ติดตั้ง Drain Grid แทน Gutter

  1. ก่อนการติดตั้ง ผู้รับเหมาต้องได้รับคำอนุมัติจากวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งได้ตรวจสอบการเตรียมพื้นที่สำหรับการติดตั้งแล้ว
  2. ความกว้างของทางระบายน้ำจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 300 mm. และขอบที่จะเป็นที่วาง Drain Grid  นั้นจะต้องมีพื้นที่สำหรับวางไม่น้อยกว่า25 mm.
  3. ติดตั้ง และตัดขอบชิ้นปลายของ DRAIN GRID ให้พอดีกับพื้นที่ก่อสร้าง โดย DRAIN GRID สามารถตัดได้ง่ายด้วยเลื่อยมือ
  4. จากนั้นน้ำหินแม่น้ำ หรือหินสวยงามมาวางเรียงกันได้

หมายเหตุ : พื้นที่นั้นจะต้องไม่มีคนเดินเหยียบ